วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555


วัดแหลมทราย



ตั้งอยู่ : เลขที่ 109 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :       

               วัดแหลมทราย สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2356 สมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ระยะแรกเริ่มสร้างวัดมีที่ดินประมาณ 4 ไร่ 1 งานอาคารเสนาสนะก็ไม่ถาวร ต่อมาได้ขอที่ดินราชพัสดุเพิ่มเติม 4 ไร่ 1 งาน รวมเป็น 8 ไร่ 2 งาน ทำให้วัดมีที่ดินตั้งวัดกว้างขวางขึ้น วัดแหลมทราย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2484 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร    

                                                                                                

วัดศาลาหัวยาง


ตั้งอยู่ : เลขที่ 321 หมู่ที่ 15 บ้านหัวยาง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :

            สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 10 ไร่2๒ งาน 15 ตารางวาบริจาคโดย นางหมั๋ยอิ๋ง  แซ่อึ่ง 

            วัดศาลาหัวยาง สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2300 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านหัวยางได้ร่วมใจกันสร้างวัดนี้ ระยะแรกได้นิมนต์พระหนอนมาอยู่ปกครองวัดและเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ชาวบ้านเรียกนามวัดนี้ว่า “วัดหลาหัวยาง” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2310

            ในด้านการศึกษา ทางวัดได้ให้ทางราชการจัดสร้างโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดศาลาหัวยาง) ขึ้นในที่วัด ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2435 โดยระยะแรกใช้ศาลาการเปรียญวัดศาลาหัวยางเป็นที่เล่าเรียน


วัดอุทัยธาราม


ตั้งอยู่ : หมู่ที่ 14 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :



          สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 99 ตารางวา วัดอุทัยธาราม สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2390 สมัยรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดอุทัยธาราม” 



วัดโพธิ์ปฐมาวาส


ตั้งอยู่ : 236 หมู่ที่ 12 บ้านบ่อยาง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ : 

        สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 98.9 ตารางวาตามเอกสาร โฉนดเลขที่ 1463 เล่มที่ 15 หน้า 63 บริเวณวัด กว้าง 105 เมตร ยาว 120 เมตร มีกำแพงล้อมรอบ 
      วัดโพธิ์ปฐมาวาส สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2200 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการขอยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2518 บริเวณที่ตั้งวัดเดิมเรียกว่า “สถานที่ค้าโภค์” หมายถึง ตลาดนัด นามวัดเดิมเรียกว่า “วัดโภค์” ต่อมาเพี้ยนเป็น “วัดโพธิ์” ถึงสมัยของพระครูสังฆโศภณ เป็นเจ้าอาวาส ได้เปลี่ยนเป็น “วัดโพธิ์ปฐมาวาส” ได้รับอนุญาตให้ปักเขต และผูกพัทธสีมามาแต่เดิม จึงถือได้ว่าได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณ พ.ศ. 2210
เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 22 เมตร
      เกี่ยวกับศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2464 ในสมัยของพระครูวิจิตรคณานุรักษ์ เป็นเจ้าอาวาส นับว่าเจริญรุ่งเรืองมากในระยะแรก

วัดเลียบ


ตั้งอยู่: เลขที่ 106 หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ : 

             สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดประมาณ 4 ไร่ 3 งาน 64.9 ตารางวา ตามเอกสารโฉนดที่ดิน เลขที่ 287 บริเวณวัดมีกำแพงรอบล้อม 
             วัดเลียบ สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2320 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งอาณาจักรกรุงธนบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471


วัดดอนแย้


ตั้งอยู่ : เลขที่ 108 หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :

                 สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 55 ตารางวา วัดดอนแย้ สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2203 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2213


วัดตีนเมรุศรีสุดาราม


ตั้งอยู่ : เลขที่ 53 หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :


             สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัด 8 ไร่ 2 งาน 87 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ 2 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 30.4 ตารางวา 
              วัดตีนเมรุศรีสุดาราม สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. 2320 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวบ้านเรียกว่า “วัดตีนเมรุ” ซึ่งก่อนที่จะสร้างขึ้นเป็นวัด ได้มีพระสงฆ์ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ท่านขรัวบ่อทอง” ได้มาพำนักอยู่ปริวาสกรรมต่อมาได้สร้างเป็นวัดขึ้น
              วัดตีนเมรุศรีสุดาราม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2330 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 19 เมตร 


วัดสระเกษ


ตั้งอยู่ : เลขที่ 2 หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :

              สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๐ ไร่ ๓๓ ตารางวา  วัดสระเกษ สร้างขึ้นเป็นวัดเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๕๐ สมัยรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๘ เมตร ยาว ๒๖ เมตร


วัดแจ้ง


 ตั้งอยู่ : เลขที่ 2 หมู่ที่ 3 บ้านแจ้ง ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :


             สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นพื้นที่ราบ อยู่ในเขตเทศบาลเมืองสงขลา มีถนนและบ้านเรือนประชาชนอยู่โดยรอบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 46.5 ตารางวา
             วัดแจ้ง สร้างขึ้นเป็นวัด ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2320 เดิมที่บริเวณวัดเป็นที่คับแคบ เจ้าจอมจันทร์ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีศักดิ์เป็นทวดของเจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศร์ และพระยามานราชเสวี ได้สร้างที่บรรจุอัฐิของต้นตระกูล “ณ สงขลา” ที่บริเวณที่ดินเดิมเป็นที่บ้านอยู่ติดต่อกับวัดแจ้ง ภายหลังจึงได้บริจาคที่ดินแปลงนี้ให้กับวัด ทำให้วัดแจ้งมีอาณาเขตกว้างขึ้น
            วัดแจ้ง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปีประมาณ พ.ศ. 2389 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 22 เมตร ยาว 21 เมตร 



วัดไทรงาม


ตั้งอยู่ : เลขที่ 83 หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :

           สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๗ ไร่ ๘๙.๓ ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ ๒ แปลง ได้ให้ประชาชนเช่าปลูกบ้านอยู่อาศัย 

              วัดไทรงาม สร้างขึ้นเป็นวัดมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๐ สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา วัดไทรงามเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในเทศบาลเมืองสงขลา ซึ่งตั้งอยู่ใกล้เขาตังกวน มีพื้นที่สูงทางด้านเหนือลาดลุ่มลงมาทางด้านใต้ 

             วัดไทรงาม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๖ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๓ เมตร




วัดโรงวาส


ตั้งอยู่ : เลขที่ 62 หมู่ที่ ๕ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ : 


           สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๗๖.๑ ตารางวา อาณาเขต บริเวณวัดกว้าง ๑๒๐ เมตร ยาว ๑๓๘ เมตร มีกำแพงวัดก่ออิฐถือปูน

      วัดโรงวาส สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๐ สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งอาณาจักรกรุงธนบุรี และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๐



วัดชัยมงคล


ตั้งอยู่ : เลขที่ 1 หมู่ที่ 5 บ้านโคกเสม็ด ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ :

             สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา วัดชัยมงคล สร้างขึ้นเป็นวัดประมาณ พ.ศ. 2394 สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีนามว่า “วัดโคกเสม็ด” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดชัยมงคล” สมัย ท่านพระครูพรหมเวชวุฒิคุณ เป็นเจ้าอาวาส แรกเริ่มการสร้างวัดนี้ ได้มีพระภิกษุ 2 รูป คือ พระอาจารย์ชัย, พระอาจารย์เพชร ทั้ง 2 รูป เป็นชาวกลันตัน ท่านเป็นนักปฏิบัติกรรมฐาน ได้เดินทางจารึกแสวงบุญมาพักปักกลดบำเพ็ญสมณธรรมอยู่นอกกำแพงเมืองสงขลาด้านทิศตะวันออก สมัยนั้นบริเวณแถบนี้เป็น ป่าไม้ไม่มีบ้านคนอยู่อาศัย ท่านทั้งสองจึงได้ชักชวนประชาชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส จัดสร้างวัดขึ้น สองวัด อยู่ใกล้ๆ กัน แบ่งกันปกครองรูปละวัด วัดที่พระอาจารย์ชัยปกครอง มีนามว่า “วัดโคกเสม็ด” (วัดชัยมงคล) เรียกชื่อวัดตามสัญลักษณ์ของภูมิประเทศ เพราะตั้งอยู่บนเนินทรายที่มีป่าไม้เสม็ดขึ้นหนาแน่น ส่วนวัดที่พระอาจารย์เพชรปกครอง มีนามว่า “วัดโคกขี้หนอน” (วัดเพชรมงคล) เพราะตั้งอยู่บนเนินทรายที่ป่าไม้มีหนอนขึ้นหนาแน่น เมื่อได้สร้างขึ้นเป็นวัดที่มั่นคงแล้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 2408 ต่อมาอุโบสถที่สร้างมาช้านานได้ชำรุด และคับแคบไม่สะดวกต่อการประกอบสังฆกรรม จึงได้จัดสร้างอุโบสถขึ้นใหม่ และขยายเขตกว้างยาวออกไปกว่าเดิม และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ ได้รับพระราชทานเมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2524 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2524


      วัดชัยมงคล ในสมัยพระอาจารย์ศรี เป็นเจ้าอาวาส มีความเจริญรุ่งเรืองมากทั้งด้านศาสนวัตถุและศาสนบุคคล มีพระภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้ทรงคุณสมบัติทั้งด้านปริยัติ และปฏิบัติ ชื่อพระภิกษุนะ ฉายา ติสฺสโร ท่านแตกฉานทางภาษาบาลี สามารถพูดภาษาบาลีได้รู้เรื่อง ท่านเป็นผู้มีความศรัทธาแรงกล้าต่อพระพุทธศาสนาได้เดินทางไปยังประเทศศรีลังกา เพื่อแสวงหาพระบรมสารีริกธาตุ และได้ พระบรมสารีริกธาตุ สมปรารถนา จากเศรษฐีชาวลังกา ซึ่งเป็นของประจำสกุลมาหลายชั่วอายุ และได้มาจากพระสถูปเจดีย์เมื่อครั้งทำการปฏิสังขรณ์ พระสถูปใหม่ พระอาจารย์นะ  ติสสฺโร เมื่อได้พระบรมสารีริกธาตุ สมปรารถนาแล้วก็ได้อัญเชิญกลับมาเมืองไทยพร้อมกับนำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มา ๓ ต้น กลับถึงเมืองไทยที่จังหวัดสงขลา พ.ศ. 2436 ได้ชักชวนอุบาสกอุบาสิกา จัดสร้างพระสถูปเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจนสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จัดงานสมโภชน์พระบรมสารีริกธาตุอย่างมโหฬารเป็นเวลา 7 วัน แล้วนำเข้าบรรจุไว้ที่พระสถูป เมื่อวันเพ็ญวิสาขบูชาปีมะเมีย ตรงกับวันเสาร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2437

      วัดชัยมงคล สมัยที่พระมหาแฉล้ม  เขมปญฺโญ เป็นเจ้าอาวาส ได้ทำเรื่องราวเสนอคณะสงฆ์ และฝ่ายบ้านเมือง เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สถาปนาวัดชัยมงคลขึ้นเป็นพระอารามหลวง ความทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วทรงพระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0240/7846 ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 1518 กระทรวงศึกษาธิการ ออกประกาศ ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2528



วัดเพชรมงคล


ตั้งอยู่ : เลขที่ 88 หมู่ที่ 5 บ้านโคกขี้หนอน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 90000

ประวัติ : 

              สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 14 ไร่ 1 งาน อาณาเขตบริเวณที่ตั้งวัด กว้าง 120 เมตร ยาว ประมาณ 192 เมตร มีกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็กล้อมรอบ 

              วัดเพชรมงคล สร้างขึ้นเป็นวัดมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2320 สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีพระเพชรมาจากรัฐกลันตัน มาเลเซีย ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้อยู่พำนัก แล้วได้ดำเนินการสร้างวัดขึ้น เนื่องจากบริเวณที่สร้างวัดมีต้นไม้ขี้หนอนอยู่มากมาย จึงเรียกนามวัดว่า “วัดโคกขี้หนอน” ในระยะแรก ต่อมาเมื่อพระเพชรได้มรณภาพ จึงได้เปลี่ยนนามวัดใหม่เป็น “วัดเพชรมงคล” เพื่อเป็นอนุสรณ์ และให้เป็นมงคลนามด้วย วัดเพชรมงคล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2330



Arcgis Onilline

View Larger Map

Digitise

ดู วัดใน ตำบลบ่อยาง จังหวัดสงขลา ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า



Panoramio